พญาแร้งในกรงเลี้ยงออกไข่แห่งความหวังในการฟื้นฟูประชากรอีกครั้ง

พญาแร้งในกรงเลี้ยงออกไข่แห่งความหวังในการฟื้นฟูประชากรอีกครั้งพญาแร้ง‘ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอีกหนึ่งชนิดที่สูญพันธุ์จากธรรมชาติของประเทศไทยไปแล้วเกือบ 30 ปี และหลงเหลืออยู่ในการเพาะเลี้ยงของประเทศไทย (สวนสัตว์และสถานีเพาะเลี้ยงเพียง 5 ตัวเท่านั้นปัจจุบันกำลังมีโครงการภายใต้ความร่วมมือของ 4 องค์กรหลัก ได้แก่ องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และอีกหลายหน่วยงานพันธมิตร ที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์พญาแร้งนอกถิ่นอาศัย (สวนสัตว์และสถานีเพาะเลี้ยงให้มีประชากรที่เพียงพอต่อการปล่อยสู่ธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์พญาแร้งในถิ่นอาศัย ณ บริเวณผืนป่ามรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง
พญาแร้งเป็นนกขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวประมาณ 80 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่หัว คอ และเท้ามีสีแดง ขนตามลำตัวสีดำ ขนที่หน้าอกและโคนขามีสีขาว ที่คอมีสีขาวขึ้นโดยรอบมองดูคล้ายสวมพวงมาลัย ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่ ขนบริเวณหัวและอกมีสีขาว ปีกสีน้ำตาล ลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย คือ เพศผู้ม่านตาสีเหลือง ส่วนเพศเมียจะมีม่านตาสีดำไปจนถึงสีแดงหม่นพบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน พม่า อินโดจีน ปัจจุบันประชากรพญาแร้งในธรรมชาติของไทยได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และองค์การสวนสัตว์มีความพยายามที่จะนำประชากรพญาแร้งกลับสู่ป่าธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง
การวางไข่ของพญาแร้งครั้งนี้ ถือเป็นความหวังครั้งใหญ่อีกครั้ง หลังจากที่การวางไข่ก่อนหน้านี้ของพญาแร้งแม่นุ้ยเมื่อต้นปี 2564 ไม่ประสบความสำเร็จ โดยไม่พบเชื้อในไข่พญาแร้ง ซึ่งเกิดจากการไม่ได้รับเชื้อของพญาแร้งเพศผู้ตั้งแต่ตอนต้นซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่จากสวนสัตว์นครราชสีมา ได้นำไข่ใบนี้ ไปเข้าตู้ฟักซึ่งจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีต่อไป มาชวนมาช่วยกันลุ้นอีกครั้งว่าไข่ใบนี้จะมีเชื้อหรือไม่พญาแร้งเป็นนกขนาดใหญ่ เป็นสัตว์ในวงศ์เหยี่ยว (Family Accipitridae) หรือนกวงศ์ผู้ล่า (Bird of Prey) มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มักหากินอยู่ตามพื้นที่โล่งแจ้ง โดยมักจะบินร่อนเป็นวงกลมบนท้องฟ้าระดับสูง สามารถร่อนกลางอากาศอยู่นานนับชั่วโมง โดยไม่ต้องกระพือปีก พบมากในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน พม่า และอินโดจีน การทำหน้าที่ของพญาแร้งในฐานะนกเทศบาล พวกเขาเป็นผู้ที่ทำให้ระบบนิเวศในผืนป่าเกิดความสมดุล และคงความหลากหลายทางชีวภาพ หากที่ไหนมีพญาแร้งพื้นที่แห่งนั้นจะต้องมีซากสัตว์ และแสดงว่าต้องมีสัตว์ป่าผู้ล่าอาศัยอยู่ ทำให้เห็นว่านกเทศบาลตัวนี้ คือสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งชนิดที่เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าใหญ่สำหรับในประเทศนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วราว 30 ปี โดยเมื่อปี 2535 พญาแร้งฝูงสุดท้ายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตายจากยาฆ่าแมลงในซากเก้ง ที่พรานล่าสัตว์ป่าใช้เป็นยาเบื่อใส่ไว้หวังจะวางยาเบื่อเสือโคร่ง เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พญาแร้งในป่าห้วยขาแข้ง ตายไป 30 กว่าตัว ทำให้พญาแร้งลดจำนวนลงและไม่พบในป่าห้วยขาแข้งอีกเลยปัจจุบันหลงเหลืออยู่ในการเพาะเลี้ยงของประเทศไทย (สวนสัตว์และสถานีเพาะเลี้ยง) เพียง 5 ตัวเท่านั้น ภายใต้โครงการความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ที่ได้ร่วมมือกันทำ "โครงการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย” ได้แก่ องค์การสวนสัตว์ โดยสวนสัตว์นครราชสีมา และสำนักอนุรักษ์และวิจัย, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดย สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยคณะวนศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์, มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และอีกหลายหน่วยงานพันธมิตร ที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์พญาแร้งนอกถิ่นอาศัย (สวนสัตว์และสถานีเพาะเลี้ยง) ให้มีประชากรที่เพียงพอต่อการปล่อยสู่ธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์พญาแร้งในถิ่นอาศัย ณ บริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
1. เพื่อฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย บริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
2. เพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแร้งในพื้นที่ถิ่นอาศัยในธรรมชาติ
3. เพื่อสำรวจประชากรนกกลุ่มแร้งในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมเพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรม
4. เพื่อใช้เป็นโครงการต้นแบบในการฟื้นฟูประชากรแร้งประจำถิ่นอีก 2 ชนิด ของประเทศไทย ได้แก่ แร้งเทาหลังขาวและแร้งสีน้ำตาล
5. สร้างเครือข่ายการอนุรักษ์นกกลุ่มแร้งทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ