งูกะปะ/Malayan Pit Viper (Calloselasma rhodostoma)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ส่วนหัวและล้าตัวด้านบนเป็นสีน้้าตาลแดงหรือสีน้้าตาลเทา มีลายเข้มเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายจรดที่สันหลัง ปากมีสีขาว มีเส้นขาวจากเกล็ดปลายปากบนพาดมาถึงที่สุดขากรรไกร ปลายหางมีสีคล้ำ หัวใหญ่เป็นสามเหลี่ยม ปลายจมูกแหลมเชิดขึ้นเล็กน้อย คอเล็ก หลังมีลักษณะเป็นสัน ลำตัวมีลักษณะรูปร่างสามเหลี่ยม สามารถกางซี่โครงออกได้กว้าง ทำตัวแบนได้มาก หางมีลักษณะเล็กและสั้น งูกะปะที่ยังมีขนาดเล็กจะสามารถท้าตัวแบนแล้วงอตัว ดีดตัวพุ่งไปข้างหน้าได้ประมาณ 2 - 3 ฟุต

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย การแพร่กระจายในไทย ได้แก่ เชียงราย; เชียงใหม่; เพชรบูรณ์ (น้้าหนาว) ; ชัยภูมิ (ภูเขียว) ; หนองคาย (ภูวัว) ; สกลนคร; อุดรธานี (กุมพวาปี); กาฬสินธุ์ (ภูสีฐาน) ; อุบลราชธานี (แก่งตะนะ, ยอดโดม); ร้อยเอ็ด (หนองพอก); นครราชสีมา (สะแกราช); สระแก้ว (ปางสีดา); จันทบุรี (เขาสอยดาว); ระยอง (เขาชะเมา); ชลบุรี (ศรีราชา) ; ลพบุรี; อุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง) ; กาญจนบุรี; เพชรบุรี (ชะอ้า) ; ประจวบคีรีขันธ์ (บางสะพาน); ชุมพร (ทุ่งวัวแล่น); นครศรีธรรมราช (ร่อนพิบูลย์); ตรัง; ภูเก็ต; ปัตตานี; นราธิวาส (ตากใบ)

อนุกรมวิธาน

CLASS : Reptilia

ORDER : Squamata

FAMILY : Viperidae

GENUS : Calloselasma

SPECIES : Malayan Pit Viper (Calloselasma rhodostoma)

ขนาดและน้ำหนัก :

เป็นงูขนาดกลาง เมื่อโตเติมที่มีความยาวจากหัวถึงปลายหางประมาณ 100 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560