ตุ๊ดตู่/Dumeril's Monitor (Varanus dumerilii)

สิ่งที่น่าสนใจ :

เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ใน ประเทศไทย และเป็นสัตว์ไม่มีพิษ ตุ๊ดตู่มีลักษณะค่อนข้างป้อมสั้น อ้วน เกล็ดเป็นสันแข็งขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่คอจะเป็นแผ่นใหญ่ และกลม มีลายแถบสีครีมขวั้นตามตัว ตัวมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงตล้ำ ในวัยเด็กมีสีผิดกับตัวโต หัวมีสีส้มสดใส ตามด้วยสีดำขวั้นที่หัว และมีลายสีครีมขวั้นที่ลำตัว

ถิ่นอาศัย :

พบอาศัยในป่าดิบชื้นภาคใต้ของประเทศไทยและพบในมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สิงคโปร์ ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ ตามพื้น ใกล้ลำธาร ป่าดิบชื้น ป่าโกงกาง และตามเกาะแก่ง

อาหาร :

ตุ๊ดตู่กินเนื้อสัตว์และแมลงต่าง ๆ กุ้ง ปู สัตว์ขนาดเล็ก

พฤติกรรม :

เป็นสัตว์เชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่หลับนอน ชอบนอนตามโพรงไม้ หรือซอกหิน เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม

สถานภาพปัจจุบัน :

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562

อนุกรมวิธาน

CLASS : Reptilia

ORDER : Squamata

FAMILY : Varanidae

GENUS : Varanus

วัยเจริญพันธุ์ :

ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203 - 230 วัน

ขนาดและน้ำหนัก :

ลำตัวยาว 50 - 125 เซนติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560