นกเค้าป่าสีน้ำตาล/Brown Wood-owl (Strix leptogrammica)

สิ่งที่น่าสนใจ :

มีลายแถบขนาดกว้างสีดำรอบตา ใบหน้าสีจางหรือออกขาวจนถึงน้ำตาลแกมเหลือง คอหอยสีขาว ด้านข้างลำตัวสีขาวแกมสีเนื้อมีลายพาดแคบๆ สีช็อกโแลต-น้ำตาล ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม บางครั้งก็มีลายพาดตลอด แต่ปกติมีลายพาดสีขาวบริเวณไหล่ และลายพาดสีจางบริเวณปีกและหาง ตาสีน้ำตาลบางครั้งก็เป็นสีเหลือง

ถิ่นอาศัย :

พบในอินเดีย จีน ไหหลำ ไต้หวัน ซูดาน พม่า มาเลเซีย เวียดนาม ตังเกี๋ย และลาว สำหรับประเทศไทยมีทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ว ป่าดงดิบเขา และป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,590 เมตร จากระดับน้ำทะเล

อาหาร :

อาหารได้แก่ นกขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก หนู

พฤติกรรม :

มีกิจกรรมต่างๆ และหากินในเวลากลางคืน มักออกหากินตามลำพังตัวเดียว หรือเป็นคู่ๆ มักเกาะตามกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบในช่วงตอนกลางวัน หรือหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ ซึ่งอาจเป็นการหลีกเลี่ยงฝูงนกที่หากินในตอนกลางวันด้วย เป็นนกที่ไม่ค่อยเชื่อง เมื่อถูกรบกวนจะบินทันที เสียงร้องนกชนิดนี้ดังเป็น "โกก-โกก-กา-ลู"

สถานภาพปัจจุบัน :

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2562

วัยเจริญพันธุ์ :

นกเค้าป่าสีน้ำตาลจับคู่ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยทำรังตามหน้าผา ในถ้ำหรือโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง

ขนาดและน้ำหนัก :

นกเค้าป่าสีน้ำตาล จัดเป็นนกเค้าขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวประมาณ 55 เซติเมตร

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560