นกกาเหว่า/Western Koel (Eudynamys scolopaceus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

นกกาเหว่าเป็นนกในวงศ์คัคคู (Cuculidae) มีขนาดใกล้เคียงกับอีกา ลำตัวเพรียวยาว ตาสีแดง หางยาวและแข็ง เท้าจับกิ่งไม้มีลักษณะพิเศษต่างจากนกชนิดอื่น คือสามารถจับกิ่งไม้ได้รอบโดยใช้นิ้วหน้า 2 นิ้ว และนิ้วหลัง 2 นิ้ว ตัวผู้มีสีดำ ปากสีเขียวเทา ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นจุดขาวทั่วตัว

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศบังคลาเทศ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล ปากีสถาน สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม

อาหาร :

นกกาเหว่าชอบกินแมลงต่าง ๆ งูบางชนิด กิ้งก่า จิ้งเหลน กบ เขียด นกเล็ก ๆ และผลไม้บางชนิด

พฤติกรรม :

มักอยู่เป็นคู่ ตัวผู้มีเสียงร้องดังกังวานในตอนใกล้รุ่งหรือใกล้ค่ำ จะร้องมากในฤดูหนาวและฤดูแล้งซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ มักจะร้องว่า "กา เว้า"

สถานภาพปัจจุบัน :

1. เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากการประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2023) 3. เป็นนกที่อยู่ในสถานภาพ เป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) หรือ IUCN Red List (2016)

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Cuculiformes

FAMILY : Cuculidae

GENUS : Eudynamys

SPECIES : Western Koel (Eudynamys scolopaceus)

วัยเจริญพันธุ์ :

นกชนิดนี้จับคู่ราวต้นเดือนพฤศจิกายน ออกไข่ราวเดือนมีนาคม ออกไข่ครั้งละ 2 – 4 ฟอง มักออกไข่ในรังกา ไข่คล้ายไข่นกกามาก ไข่แล้วให้แม่กาฟัก เคยปรากฏพบไข่ในรังกาถึง 8 ฟอง เมื่อไข่ฟักออกมาลูกนกมีสีดำคล้ายกันหมด แต่เมื่อโตขึ้น ลูกนกกาเหว่าตัวผู้มีสีดำเช่นเดิม ส่วนตัวเมียขนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นจุดขาวทั่วตัว

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560