ชะนีมงกุฎ (ชะนีหัวมงกุฎ)/Pileated Gibbon (Hylobates pileatus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีขาวนวล เมื่อเกิดใหม่สีขาวนวลเหมือนกัน พออายุ 4 - 6 เดือน ขนที่หน้าอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมลงที่ท้อง และบนหัวขนเปลี่ยนเป็นสีดำ เกิดขึ้นตรงกลางหัวเป็นรูปทรงกลม พออายุประมาณ 3 - 4 ปี ตัวผู้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัว ยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้าและวงรอบใบหน้า ซึ่งขนจะเป็นสีขาวดังเดิม รอบๆ จุดดำบนหัวจะมีขนสีขาวยาวเป็นลอนแซมขึ้นมาเห็นเด่นชัด ส่วนตัวเมียขนทั่วตัวไม่เปลี่ยนสีดำ สีขนจะคงเดิม ที่หน้าอกและบนหัวจะมีสีดำ มองดูที่หน้าอกคล้ายผูกเอี๊ยมดำจึงเป็นที่มาของชื่อ “ ชะนีเอี๊ยมดำ ” และ บนหัวดูคล้ายเป็นมงกุฎสีดำ ขนรอบจุดดำบนหัวเป็นลอนยาวสีขาวเช่นเดียวกับตัวผู้

ถิ่นอาศัย :

พบในประเทศลาวและกัมพูชาทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับประเทศไทย พบทางทิศตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตราด และพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ด้วย

อาหาร :

กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ

พฤติกรรม :

อาศัยอยู่บนไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ร้องเวลาเช้าตรู่ยอดไม้

อนุกรมวิธาน

CLASS : Mammalia

ORDER : Primates

FAMILY : Hylobatidae

GENUS : Hylobates

SPECIES : Pileated Gibbon (Hylobates pileatus)

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ :

เมื่อมีอายุ 7 - 8 ปีจึงผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานประมาณ 240 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560